Blinking Pink Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15 วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


วันพุธที่ 1เมษายน  พ..2558

มีการเรียนการสอนชดเชย
ติดกิจกรรมสานสัมพันธ์กีฬาคณะศึกษาศาตร์


สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ที่ 1 ค่ะ รางวัลเชียร์หลีดเดอร์และแสตนเชียร์





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ..2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม 
- ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
      - เรื่องเกี่ยวตัวเด็ก
      - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลรวมรอบข้าง พ่อ แม่ และตัวเด็ก
      - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก สภาพอากาศ กลางวัน กลางคืน เวลา เป็นต้น
      - สิ่งต่างๆรอบของตัวเด็ก
- การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
1.ภาษา         = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา
2.สุขศึกษา     = ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
3.สังคมศึกษา  ช่วยพัฒนาเด็กด้านสังคม การเล่นกับเพื่อน การรู้จักปรับตัว
4.พลศึกษา     ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
5.ศิลปะ         ช่วยพัฒนาเด็กด้านความคิดสร้างสรรค์ สมองซีกขวา 
6.วิทยาศาสตร์  = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา การคิดอย่างมีเหตุผล คิดเชิงตรรกะ


- พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์
3.ด้านสังคม
4.สติปัญญา


- การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
3.กิจกรรมเสรี 
4.กิจกรรมกลางแจ้ง 
5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
6.เกมการศึกษา


- ประเภทของเกมการศึกษา
1.เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์ 
2.เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
4.เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
5.เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ 
6.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ 
7.เกมพื้นฐานการบวก เป็นต้น


- เทคนิคและวิธีการสอน
1.เพลง
2.นิทาน
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.สื่อ
6.ปริศนาคำทาย
7.การพาเด็กออกนอกสถานที่เพื่อให้ไปสัมผัสประสบการณ์จริง เช่นการไปจ่ายตลาด ให้เด็กได้ใช้เงิน นับเงิน เองเป็นต้น

- การจัดลำดับในการสอนตามแผนประสบการณ์
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป


- การประเมิน
การสังเกตและสนทนานั้นจะเก็บข้อมูลโดยการบันทึกของครูประจำชั้น
  -การสังเกต พฤติกรรมของเด็ก
  -การสนทนา
  -ชิ้นงานหรือผลงานของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กมีแฟ้มสะสมผลงาน portfolio ของเด็ก


- กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
1.นับจำนวนเงินที่จ่ายในการไปตลาดกับผู้ปกครอง
2.การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
3.การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
4.การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
5.ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร



- วิธีการสอน
   อาจารย์และนักศึกษาช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบไม่เจาะจง
- นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง
  กลุ่มในสาระที่ 5
  กลุ่มในสาระที่ 6
-อภิปรายเนื้อหาและถาม-ตอบ



ท้กษะที่ได้รับ 

- ได้ใช้ความคิดในการหาคำตอบ
- ได้ฝึกทักษปฎิภาณไหวพริบในการตอบคำถามเป็นรายบุคลล
- ได้รู้ถึงวิธีการสอดแทรกการสอนไปกับกิจวัตรประจำวัน เช่นการตื่นนอน การกินอาหารให้ตรงเวลา



การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำความรู้ที่ได้รับทั้งหมด การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน เช่น การใช้นิทานในการสอน คำคล้องจองต่างๆ และการนำมาใช้ที่บ้าน เช่นให้ลองนับจำนวนคนในครอบครัว และให้เด็กหยิบจับจานตามจำนวนของคนในครอบครัว เป็นต้น  เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน  



บรรยากาศในห้องเรียน
     - แสงจากจอโปรเจ็คเตอร์สว่างพอดี
     - เสียงสว่างในห้องเพียงพอ
     - โต๊ะเรียงกันเป็นรูปครึ่งวงกลม
     - อากาศเย็นน่าเรียน 


ประเมินตนเอง
      - ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ เช่นิ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ภายในบ้าน ในส่วนของผู้ปกครอง
      -ตั้งใจเรียน และจดบ้างบางครั้ง เพราะเจ็บข้อมือเลยไม่ได้จดหมด 
 

ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความตั้งใจในการหาคำตอบเป็นอย่างดี แม้จะตอบไม่ตรง แต่พออาจารย์พูดชี้แนว ก็สามารถตอบได้ตรงประเด็น 



ประเมินอาจารย์    
      - อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก และให้นักศึกษาตอบคำถามรายบุคคล เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน 





ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

เนื้อหาการเรียน (ความรู้ที่ได้รับ)

อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง
คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

และให้นักศึกษาสรุปประเด็นความรู้ 
วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้ โดยตอบจากความเข้าใจของนักศึกษา ห้ามลอกกัน !!

ทักษะที่ได้
-ได้รู้ทักษะการตอบคำถามทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน รูปแบบการตอบคำถาม ตอบไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำรูปแบบการจัดโต๊ะ การจัดห้องเรียน ไปจัดห้องเรียนได้ใยอนาคต (มีในแยยทดสอบ)

บรรยากาศในการเรียน
-เย็นสบาย เงียบสงบ มีสมาธิในการตอบคำถามดี

ประเมินผล
-ตนเอง มีสมาธิดีขึ้น สามารถทำแบบทดสอบได้ ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากสมุดจนมาตอบ
-เพื่อน ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตามเวลา
-อาจารย์ผู้สอน ใช้คำถามที่ตรงประเด็น นักศึกษาสามารถตอบได้ แต่อาจจะไม่ตรงตามเฉลยเป๊ะ แต่ก็ใกล้เคียง


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 

ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน (ความรู้ที่ได้รับ)
- วันนี้นักศึกษาได้ฝึกสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
*กลึ่มของข้าพเจ้าได้เรื่อง สตรอวเบอร์รี่ ซึ่งไม่ได้ให้เพื่อนถ่ายภาพไว้ให้ ขณะ กำลังฝึกสอน จึงไม่มีภาพประกอบ 

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เรื่องสตรอวเบอร์รี่
ขั้นนำ
-ร้องเพลงสตรอวเบอร์รี่ และถามความรู้เดิมของเด็กเกี่ยวกับสตรอวเบอร์รี่ และมีภาพประกอบ
-ถามเด็กว่า จากเพลงมีสตรอวเบอร์รี่สายพันธุ์อะไรบ้าง และเขียน mind map ตามที่เด็กบอก
-ถามเด็กว่ารู้จักสตรอวเบอร์รี่สายพันธุ์ใดบ้างนอกจากในเพลง และเขียน mind map ตามที่เด็กบอก

ขั้นสอน
-นำสตรอวเบอร์รี่ออกมา และให้เด็กดู และรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง พันธุ์พระราชทาน 70,80
-นำสตรอวเบอร์รี่มาติดบนกระดาน และให้เด็กๆนับจำนวนไปพร้อมกัน (20 ผล)
-ให้เด็กออกมาแยกสตรอวเบอร์รี่ พันธุ์ 70และ 80ออกจากกัน 
-หากพันธุ์70หมดก่อน แสดงว่ามีน้อยกว่าพันธุ์80 และพันธุ์ 80 มีมากกว่าพันธุ์ 70

ขั้นสรุป
-เด็กแยกพันธุ์สตรอวเบอร์รี่ได้ถูกต้อง
-ร้องเพลง สตรอวเบอร์รี่อีกรอบ

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำรูปแแบบการจัดห้องเรียน ไปใช้ได้ในอนาคต ขวามือของเด็ก=ซ้ายมือของครู ดังนั้นคุณครูต้องแยกประสาทการควบคุมให้ดี เวลาจะยกมือ หรือสั่งให้เด็กทำอะไร

วิธีการสอน
-อาจารย์ให้นักศึกษาหัดสอนในแผนที่ตนเองเขียนมา

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการจัดห้องเรียน 
-ทักษะการเขียนกระดาน
-ทักษะการสอน

ประเมินผล
-ตนเอง  กล้าแสดงออก กล้าที่จะพูด กล้าที่จะสอน
-เพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ เสมือนตนเองเป็นเด็กจริงๆเลย
-อาจารย์ผู้สอน อาจารย์มีการแนะนำหลังการสอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงข้อบกพร่องของตนเอง จะได้แก้ไขในครั้งต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------
 สตรอวเบอร์รี่
สตรอวเบอร์รี่ สตรอวเบอร์รี่ มีหลายสายพันธุ์
พระราชทาน 70 , 80 ก็มี ดูให้ดีๆมีหลายสายพันธุ์

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 

ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)
- การออกแบบกิจกรรม
ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
  1. ศึกษาสาระที่ควรรู้
  2. วิเคราะห์เนื้อหา
  3. ศึกษาประสบการณ์
  4. บูรณาการ
  5. ออกแบบการจัดกิจกรรม

สิ่งที่ควรเรียนรู้
-สิ่งต่างๆรอบตั
-บุคคลและสถานที่
-เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็กเอง ชื่อ วัน/เดืิอน/ปีเกิด ชื่อพ่อ ชื่อแม่ เป็นต้น
-ธรรมชาติ กลางวัน กลางคืน สภาพอากาศเป๋็นต้น

หลักในการเลือกเนื้อหา
-เลือกจากสิ่งหรือเรื่องใกล้ตัวของเด็ก เช่น สภาพอากาศ สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เป็นต้น

ประสบการณ์สำคัญ
-ประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่า่งกาย



-ประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ

ข้อคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
1.เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการเพราะเด็กแต่ละช่วงอายุมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
2.ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่มีจะทำให้มีการปรับความรู้ใหม่ เป็นการเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
3.เหมาะสมกับคสามต้องการและความสามารถของเด็ก

 กระบวนการของกิจกรรมต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ เพราะ ให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสอดคล้องกับการทำงานของสมอง ให้เด็กได้ลงมือกระทำอย่างมีความสุข 
แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping

แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม 
ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การดูแลรักษา 4.ข้อควรระวัง 5.ประโยชน์
เขียนแผนการสอนตามเรื่อง สรอวเบอร์รี่




ทักษะได้รับ
-ได้ฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์
-การคิดอย่างมีระบบ การคิดก่อนหลัง และเชื่อมโยงความคิด ให้ออกมาเป็นความคิดของตนเอง
-การระดมความคิด
-การช่วยกันตอบคำถาม
-ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
-ทักษะในการคิดวิเคราะห์ เป็นขั้นตอน และคิดเป็นระบบ
-ทักษะกระบวนการในการทำงานเป็นกลุ่ม


การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำควาามรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก ไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับการกิจกรรม เพื่อให้พัฒนาการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ประเมินผล
 ตนเอง
-วันนี้ร่างกายไม่ค่อยพร้อม เนื่องจากไม่สบาย แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนจนถึงที่สุด มีถามเพื่อนข้างๆบ้าง 
เพื่อน
-เพื่อนนักศึกษา ตั้งใจฟังอาจารย์ พออาจารย์ให้สรุปความรู้ เพื่อนๆก็รีบสรุปเป็นคำพูดของตนเอง ลงสมุดบันทึก และมีการตอบคำถามอาจารย์ด้วย
อาจ่รย์ผู้สอน
-อาจารย์ได้แนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยเชื่อมโยงความรู้จากเรื่องเดิมที่เคยเรียนมาตอน ปี1 คือเรื่องพัฒนาการของเด็ก ฝึกให้นักศึกษาเชื่อมโยงความคิด

อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ให้คำแนะนำนักศึกษาเวลานักศึกษาทำงานผิดพลาด ก็จะแนะแนวทางให้ใหม่

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

  • กลุ่มที่ 1 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์


  • กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


  • กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง

  • กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำเนื้อหาการเรียนการสอนความรู้ เรื่องรูปแบบการสอนในแบบต่างๆไปใช้ในการฝึกสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้และได้รับพัฒนาการที่ดีและจะให้พัฒนาเป็นไปตามขั้นตอน

บรรยากาศในห้องเรียน

-มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเหมือนทุกครั้งที่ไปเรียน นั่งเรียนสบาย ไม่แออัด

ประเมินตนเอง

-ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ก็พยายามศึกษาหาความรู้จากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน กล้าที่จะยกมือถามอาจารย์เวลาที่ไม่เข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนนักศึกษาตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงเพราะ คำพูดของอาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาไปในตัว และอาจารย์ก็ยังปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบงานตนเองที่ได้รับมองหมายในแต่ละสัปดาห์  ถ้าไม่ได้เอามาในอาทิตย์นั้นๆ คือ ไม่ต้องออกไปนำเสนอ  เป็นการทำให้นักศึกษาเกิดความกระตืนรือร้นเพิ่มขึ้นค่ะ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน


- นำเสนอบทความ
เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

- นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ


** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้
 สาระที่ 1 : จำนวนและการกำเนินการ
 สาระที่ 2 : การวัด
 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
 สาระที่ 4 : พีชคณิต
 สาระที่ 5 : วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



วิธีการสอน
- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
- ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการพูดนำเสนองาน
- ทักษะในการตอบคำถาม
-ทักษะในการฟัง



การนำไปประยุกต์ใช้
-การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย เราสามารถนำนิทาน คำคล้องจองต่างๆมาสอนเด็กได้ และก็ยังได้หัดแต่งนิทานอีกด้วย ซึ่งกลุ่มดิฉันได้เรื่องการวัด ดิฉันแต่งนิทานเอง รู้สึกภูมิใจมากค่ะ


บรรยากาศในห้องเรียน

โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่งกายเรียบร้อย ม

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และก็แบ่งงานกันได้อย่างลงตัว ไม่วุ่นวายหรือเสียงดัง


ประเมินอาจารย์
-อาจาร์ยมีเทคนิคการสอนที่ดี พูดให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ การใช้น้ำเสียงหนักเบา เพื่อดึงดูดให้นักศึกษาสนใจ 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาที่เรียน
การนำเสนอการจัดประสบการณ์แบบโครงการ Project Approach มี 5 ลักษณะ
1. การอภิปรายกลุ่ม
2. นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.การทำงานภาคสนาม
4. สืบค้นข้อมูล
5. การจัดการแสดง

การเรียนรู้แบบ “Project Approach” คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย


1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

2.การศึกษานอกสถานที่ สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า

3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ มีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ

4.การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า

5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น แก่เพื่อนในชั้น ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
-สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
-กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
-รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
1. การอภิปรายกลุ่ม
2. การทำงานภาคสนาม
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
4. การสืบค้น
5. การจัดแสดง
กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
- เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
- ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
- เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
- เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
- ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
- กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ ประดิษฐ์ เล่นบทบาทสมมติ
- โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)

นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ ประมาณ 5-10 นาที

1. นางสาว เปมิกา นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยการนำผลไม้มาบอกชนิดของลักษณะ
2.นางสาว ปาริฉัตร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านนิทานลูกหมู 3 ตัว บอกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในนิทานเช่น จำนวนลูกหมู อายุของลูกหมู
3.นางสาว นิศากร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านเกมส์ลูกเต๋า ได้รู้จักจำนวน ได้การนับ การเปรียบเทียบ
4. นางสาว กัญญาลักษณ์ นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านกิจกรรมรถไฟหรรษา ได้นับจำนวน

ทักษะที่ได้
-ได้รู้จักการสรุปสาระสำคัญแบบองค์รวม สรุปแบบเห็นภาพ ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น
-การสอนแบบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนและกิจกรรมต่างๆ
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
-ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ
-การกล้าแสดงออกในการนำเสนองานหน้าห้อง หรือเวลาพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
การประยุกย์ใช้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและเกิดจินตนาและยังเชื่อมโยงความรู้ไปสู่วิชาอื่นได้อีกด้วย


บรรยากาศในห้อง
-เพื่อนนักศึกษามีการเรียนกันอย่างสนุกสนาน และสนใจการเรียนดีในระดับนึง มีคุยกันบ้างเล็กน้อย เพื่อถามถึงข้อที่สงสัยและไม่เข้าใจ และอาจารย์ก็อธิบายให้ฟัง เพื่อนๆนักศึกษา
ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีการสอบถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ความพร้อมในการสอนและสอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา และมีการเกริ่นนำเนื้อหาก็จะเข้าบทเรียน ทำให้เราจับประเด็นได้ว่าวันนี้อาจารย์จะสอยเกี่ยวกับเรื่องใด

------------------------------------------------------------------------------------------------
เพลง เท่ากัน--ไม่เท่ากัน


ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)




เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนับฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบ ฉันที่หัวแม่มือ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาที่เรียน

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
4. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
5. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
6. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
   *ขออนุญาติเอาเนื้อหาจากการไปค้นคว้ามาใส่ค่ะ กลุ่ม bbl ค่ะ เอามาแค่บางส่วนค่ะ

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 

brain regions

Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี 

Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้ 

1. สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน 
  สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา เพราะการที่มนุษย์ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของ การรับรู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ได้แก่ ตาทำให้เห็น หูทำให้ได้ยิน จมูกทำให้ได้กลิ่น ลิ้นทำให้ได้รับรส และผิวกายทำให้เกิดกการสัมผัส

แนวการจัดกิจกรรมการสอน 

  ครูจำเป็นต้องใช้กลวิธีและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียน ไม่มีวิธีหรือเทคนิคของใครสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความสามารถพื้นฐานของบุคคลนั้น ๆ หรือ Style การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ โดยพบว่าห้องเรียนหนึ่ง ๆ มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้อยู่ 4 รูปแบบ คือ นักทฤษฎี นักวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และนักกิจกรรม ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมและเอื้อต่อผู้เรียนทั้ง 4 แบบอย่างเสมอภาคกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ตนเองไม่ถนัดด้วยวิธีการหลากหลายอีกด้วย โดยอาจเริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ววางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสร้างโอกาสให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

2. สมองกับการเรียนรู้ 
  สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการ 
พัฒนาของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งจะรวมถึงการคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรจะมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานและการพัฒนาของสมอง เพื่อจะได้วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่กระตุ้นให้สมองคิดและทำงานแบบท้าทาย ยั่วยุมากที่สุด ผู้เรียนได้คิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทุกด้าน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ เป็นรากฐานไปสู่การเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขในการดำรงชีวิตและเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป 

แนวการจัดการเรียนการสอน 

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง 
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการอ๊อกซิเจน และอ๊อกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ 
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ การฟังเพลงที่มีคุณภาพทำให้สมองผลิต Alpha Waves และ Theta Waves ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเกิดความคิดสร้างสรรค์ชั้นสูง 
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า 
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 

แนวการจัดการเรียนการสอน 
  ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่ 
สาธารณชน โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่างอิสระ 

  สมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือซีกซ้ายกับซีกขวา สมองทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน สมองมีหน้าที่ ควบคุมการรับรู้ การคิด การเรียนรู้และการจำ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม จะเห็นได้ว่า สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการพัฒนาของอวัยวะทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งรวมถึงความคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  การจัดการเรียนการสอนที่ดี ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ คำ ภาษา ตรรก ตัวเลข/จำนวน ลำดับ ระบบ การคิดวิเคราะห์ และการแสดงออกเป็นต้น สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ จังหวะ ดนตรี ศิลปะ จินตนาการ การสร้างภาพ การรับรู้ การเห็นภาพรวม ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 

 การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  สมองจะซึมซับข้อมูลที่บุคคลมีความสนในเรื่องนั้นอยู่แล้ว เชื่อมโยงกับข้อมูล ความรู้ใหม่ ประสานข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้ของมนุษย์จะมี ประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนกับการจัด ประสบการณ์ในการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง
แนวการจัดการเรียนการสอน   ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ 

 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งในแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ 
  การเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง เช่น ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ได้คิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
แนวการจัดกิจกรรมการสอน 
  ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้ แต่ยังไม่เข้าใจ ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้ ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 

 การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจ และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้มา มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง สอน/แนะนำบนพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิด ความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท ว่ามีความชื่นชอบ ความถนัด วิธีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน 

 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  ภาษาแรกของมนุษย์เราถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย ด้วยคำศัพท์และไวยกรณ์ ถูกเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ภายในของบุคคลที่เกิดจากการมี ปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย การสาธิต การทำโครงงาน ทัศนศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง การเล่าเรื่อง ละคร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน ความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสและให้ผู้เรียนพบประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวข้องกันในเนื้อหา ครูไม่ควรเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่ควรเป็นผู้กำกับที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 

เอกสารอ้างอิง 
University of Nebraska at Ohama. (1999). Principles of Brain-Based Learning, from http://www.unocoe.unomaha.edu/brainbased.htm. 
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัยจำกัด, 2543. 
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. พบกันทุกวันอังคาร. http://www.moe.go.th/Tuesday/index.shtml. 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/544960







การนำไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ความสำคัญการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

1. การจักประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ นำไปใช้ได้จริงไม่ได้สลับเพราะมันทับซ้อนกันอยู่
3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้าน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบ #พหุปัญญา
5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


ทักษะที่ได้
-การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
-การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
-เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
-ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้
-การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้ สามารถนำไปประยุกต์ได้ทุกกิจกรรม


บรรยากาศในห้อง
-เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง
-มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน สอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา แต่งการเรียบร้อย มีการใช้คำเชิญชวนให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นที่จะตอบ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ  นกกระจิบ 1 2 3 4 5
 อีกฝูงบินล่องลอยมา  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง 1 ปี 12 เดือน
1 ปีนั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 
วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ลั่น ลัน ลั่น ลา

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เนื้อหาการเรียน
อาจารย์ได้ทดสอบก่อนเรียน
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไร และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง
เนื้อหาที่อาจารย์สอน
  • เทคนิคการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง 
           -เพลง
           -เกม     (เกมการศึกษา เช่น โดมิโน่ จับคู่ภาพ เรียงลำดับ เกมความสัมพันธ์สองแกน เป็นต้น)
           -นิทาน
           -คำคล้องจอง 
           -ปริศนาคำทาย
           -บทบาทสมมุติ (ในมุมเสรี)
           -กิจวัตประจำวัน เป็นต้น



 -เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
 -ความคิดเชิงคณิตศาสตร์

เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น

ประเภทของเกมการศึกษามีดังนี้

-เกมจับคู่ เช่น จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน จับคู่ภาพกับเงา จับคู่ภาพที่ช่อนอยู่ในภาพหลัก
-เกมภาพตัดต่อ เช่น ต่อภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน เช่น ต่อภาพปลา เมื่อเรียนหน่วยปลา ต่อภาพผีเสื้อ เมื่อเรียนเรื่องผีเสื้อ เป็นต้น
เกมจัดหมวดหมู่ ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโน่ภาพเหมือน โดมิโน่สัมพันธ์
เกมเรียงลำดับ เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง เรียงลำดับขนาด
เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)

ซึ่งการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็กนั้น  เรามาสารถนำไปประยุกต์เข้ากับสิ่งที่เด็กสนใจ และเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก เช่นสิ่งรอบตัวเด็ก จำนวนสมาชิกในครอบครัว ลำดับสามาชิกในครอบครัว เป็นการให้เด็กเรียนรู้ไปอย่างสนุกสนานและไม่ตึงเครียด 



ทักษะที่ได้
-การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
-การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
-การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน


การประยุกย์ใช้
-การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นแนวทางที่ดีสำหรับทุกๆกิจกรรม ได้สามารถนำไปประยุกต์ในทุกกิจกรรมได้




บรรยากาศในห้อง

-เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน สนใจการเรียนดีระดับนึง ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี มีการconcentrateกับผู้สอนอย่างดีค่ะ

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน พยายามคิดและตอบคำถามอาจารย์ จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ และถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ

ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และมีความกระตือรืนร้นในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอนมากสอน มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ทำให้เข้าใจกว่าการที่บรรยายอย่างเดียว

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน


ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เนื้อหาการเรียนการสอน

-อาจารย์ได้ทดสอบความรู้ความเข้าใจและเกริ่นนำ เกี่ยวกับเรื่อง

1.มาตรฐานคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

2.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง

3.สา่ระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไร

ให้นักศึกษาตอบเป็นการวัดความเข้าใจและความรู้เดิมของนักศึกษา

เนื้อหาการสอน

มาตรฐานคืออะไร และ มีประโยชน์อย่างไร

- มาตรฐานคือ การวัดคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดคุณภาพ


-ประโชน์ของมาตรฐาน คือ ใล้ควบคุมคุณภาพของสิ่งของต่างๆ ให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและเกณฑ์ที่ได้ำหนดไว้

.สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ = ให้เด็กรู้ค่าของจำนวน เช่นจำนวนของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น

สาระที่ 2 : การวัด
การวัดหาค่าใชเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวัด เช่น
-ไม่เป็นทางการ = คืบ,นิ้ว,ศอก
-กึ่งเป็นทางการ = เชือก , ผ้า
-เป็นทางการ = ไม้บรรทัด , ตลับเมตร

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

สาระที่4 : พีชคณิต

สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น

สาระที่6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


วิธีการสอน

- อาจารย์บอกให้ผู้เรียนทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน พร้อมกับถามคำถามนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องกรอบมาตรฐานสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และยกตัวอย่างกิจกรรมเช่น ให้เด็กเดินตลาดและหัดให้เด็กได้จ่ายตลาดเอง โดยการใช้จ่ายธนบัตรด้วยตนเอง 
การสอนแบบมีการบูรณาการณ์มาสิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของผู้เรียนแบบไม่มีถูกมีผิด แต่ถ้าผอดอาจารย์ก็จะเสริมและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา



ทักษะที่ได้

1. ได้ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นนักเรียนที่ดี จับใจความสิ่งที่อาจารย์สอน
2. ได้ฝึกการร้องเพลงสำหรับการบูรณาการณ์ในการสอนเด็ก
3. ได้จดกระบวนการคิดว่าจะฟังเพื่อนอย่างให้เข้าใจ


การประยุกต์ใช้
-ทุกสิ่งที่อาจารย์สอนมาสามารถนำไปใช้ในเหตุการณ์จริงได้ และประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์เพราะทั้งหมดเพราะทุกสิ่งล้วนมาจากสิ่งที่ต้องเจอทั้งในปัจจุบันและอนาคต

บรรยากาศในห้อง
-สนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียน อากาศภายในห้องเย็นสบาย แสงสว่างเพียงพอ แสงจากจอโปรเจ็คเตอร์ก็สว่างพอดีไม่แสบตา

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน มีตวามเข้าใจในเนื้อหาที่อาจาร์ยสอน มีการคุยบ้างแต่คุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับเพือนรอบข้าง

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจาร์ยถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อารมณ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข


          -----------------------------++++++++++++++++++++++++--------------------------------

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง   และเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า  และเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลงซ้าย - ขวา 
ยืนตัวให้ตรง    ก้มหัวลงมือตบแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน  หันตัวไปทางนั้นแหละ