Blinking Pink Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

เนื้อหาที่เรียน

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
4. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
5. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่
6. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
   *ขออนุญาติเอาเนื้อหาจากการไปค้นคว้ามาใส่ค่ะ กลุ่ม bbl ค่ะ เอามาแค่บางส่วนค่ะ

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL) 

brain regions

Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี 

Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้ 

1. สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน 
  สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา เพราะการที่มนุษย์ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของ การรับรู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ได้แก่ ตาทำให้เห็น หูทำให้ได้ยิน จมูกทำให้ได้กลิ่น ลิ้นทำให้ได้รับรส และผิวกายทำให้เกิดกการสัมผัส

แนวการจัดกิจกรรมการสอน 

  ครูจำเป็นต้องใช้กลวิธีและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียน ไม่มีวิธีหรือเทคนิคของใครสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความสามารถพื้นฐานของบุคคลนั้น ๆ หรือ Style การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ โดยพบว่าห้องเรียนหนึ่ง ๆ มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้อยู่ 4 รูปแบบ คือ นักทฤษฎี นักวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และนักกิจกรรม ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมและเอื้อต่อผู้เรียนทั้ง 4 แบบอย่างเสมอภาคกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ตนเองไม่ถนัดด้วยวิธีการหลากหลายอีกด้วย โดยอาจเริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ววางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสร้างโอกาสให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

2. สมองกับการเรียนรู้ 
  สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการ 
พัฒนาของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งจะรวมถึงการคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรจะมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานและการพัฒนาของสมอง เพื่อจะได้วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่กระตุ้นให้สมองคิดและทำงานแบบท้าทาย ยั่วยุมากที่สุด ผู้เรียนได้คิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทุกด้าน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ เป็นรากฐานไปสู่การเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขในการดำรงชีวิตและเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป 

แนวการจัดการเรียนการสอน 

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง 
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการอ๊อกซิเจน และอ๊อกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ 
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ การฟังเพลงที่มีคุณภาพทำให้สมองผลิต Alpha Waves และ Theta Waves ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเกิดความคิดสร้างสรรค์ชั้นสูง 
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า 
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 

แนวการจัดการเรียนการสอน 
  ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่ 
สาธารณชน โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่างอิสระ 

  สมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือซีกซ้ายกับซีกขวา สมองทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน สมองมีหน้าที่ ควบคุมการรับรู้ การคิด การเรียนรู้และการจำ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม จะเห็นได้ว่า สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการพัฒนาของอวัยวะทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งรวมถึงความคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  การจัดการเรียนการสอนที่ดี ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ คำ ภาษา ตรรก ตัวเลข/จำนวน ลำดับ ระบบ การคิดวิเคราะห์ และการแสดงออกเป็นต้น สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ จังหวะ ดนตรี ศิลปะ จินตนาการ การสร้างภาพ การรับรู้ การเห็นภาพรวม ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 

 การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  สมองจะซึมซับข้อมูลที่บุคคลมีความสนในเรื่องนั้นอยู่แล้ว เชื่อมโยงกับข้อมูล ความรู้ใหม่ ประสานข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้ของมนุษย์จะมี ประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนกับการจัด ประสบการณ์ในการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง
แนวการจัดการเรียนการสอน   ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ 

 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งในแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ 
  การเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง เช่น ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ได้คิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
แนวการจัดกิจกรรมการสอน 
  ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้ แต่ยังไม่เข้าใจ ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้ ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 

 การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจ และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้มา มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง สอน/แนะนำบนพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิด ความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท ว่ามีความชื่นชอบ ความถนัด วิธีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน 

 การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
  ภาษาแรกของมนุษย์เราถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย ด้วยคำศัพท์และไวยกรณ์ ถูกเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ภายในของบุคคลที่เกิดจากการมี ปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวการจัดการเรียนการสอน 
  ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย การสาธิต การทำโครงงาน ทัศนศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง การเล่าเรื่อง ละคร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน ความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสและให้ผู้เรียนพบประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวข้องกันในเนื้อหา ครูไม่ควรเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่ควรเป็นผู้กำกับที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ 

เอกสารอ้างอิง 
University of Nebraska at Ohama. (1999). Principles of Brain-Based Learning, from http://www.unocoe.unomaha.edu/brainbased.htm. 
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัยจำกัด, 2543. 
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. พบกันทุกวันอังคาร. http://www.moe.go.th/Tuesday/index.shtml. 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/544960







การนำไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ความสำคัญการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

1. การจักประสบการณ์แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้ ทักษะจากหลายๆศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ นำไปใช้ได้จริงไม่ได้สลับเพราะมันทับซ้อนกันอยู่
3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
4.การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆด้าน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ แบบ #พหุปัญญา
5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ จะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


ทักษะที่ได้
-การสอนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
-การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้
-เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
-ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ

การประยุกย์ใช้
-การสอนแบบการบูรณาการณ์สิ่งรอบตัวมาสอนเพื่อสอดคล้องกับเนื้อหาได้ สามารถนำไปประยุกต์ได้ทุกกิจกรรม


บรรยากาศในห้อง
-เพื่อนๆ เรียนกันอย่างสนุกสนาน ให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง
-มีความเข้าใจในเนื้อหา มีการตอบคำถามแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย


ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น ไม่พูดคุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์เสียงดังฟังชัด มีความพร้อมในการสอน สอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา แต่งการเรียบร้อย มีการใช้คำเชิญชวนให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นที่จะตอบ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ  นกกระจิบ 1 2 3 4 5
 อีกฝูงบินล่องลอยมา  6 7 8 9 10 ตัว

เพลง 1 ปี 12 เดือน
1 ปีนั้นมี 12 เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1 สัปดาห์นั้นมี 7 วัน 
วัน อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
ลั่น ลัน ลั่น ลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น