Blinking Pink Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

  • กลุ่มที่ 1 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์


  • กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


  • กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง

  • กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำเนื้อหาการเรียนการสอนความรู้ เรื่องรูปแบบการสอนในแบบต่างๆไปใช้ในการฝึกสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้และได้รับพัฒนาการที่ดีและจะให้พัฒนาเป็นไปตามขั้นตอน

บรรยากาศในห้องเรียน

-มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเหมือนทุกครั้งที่ไปเรียน นั่งเรียนสบาย ไม่แออัด

ประเมินตนเอง

-ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ก็พยายามศึกษาหาความรู้จากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน กล้าที่จะยกมือถามอาจารย์เวลาที่ไม่เข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนนักศึกษาตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงเพราะ คำพูดของอาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาไปในตัว และอาจารย์ก็ยังปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบงานตนเองที่ได้รับมองหมายในแต่ละสัปดาห์  ถ้าไม่ได้เอามาในอาทิตย์นั้นๆ คือ ไม่ต้องออกไปนำเสนอ  เป็นการทำให้นักศึกษาเกิดความกระตืนรือร้นเพิ่มขึ้นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น