Blinking Pink Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ..2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม 
- ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
      - เรื่องเกี่ยวตัวเด็ก
      - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลรวมรอบข้าง พ่อ แม่ และตัวเด็ก
      - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก สภาพอากาศ กลางวัน กลางคืน เวลา เป็นต้น
      - สิ่งต่างๆรอบของตัวเด็ก
- การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
1.ภาษา         = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา
2.สุขศึกษา     = ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
3.สังคมศึกษา  ช่วยพัฒนาเด็กด้านสังคม การเล่นกับเพื่อน การรู้จักปรับตัว
4.พลศึกษา     ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
5.ศิลปะ         ช่วยพัฒนาเด็กด้านความคิดสร้างสรรค์ สมองซีกขวา 
6.วิทยาศาสตร์  = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา การคิดอย่างมีเหตุผล คิดเชิงตรรกะ


- พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์
3.ด้านสังคม
4.สติปัญญา


- การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
3.กิจกรรมเสรี 
4.กิจกรรมกลางแจ้ง 
5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
6.เกมการศึกษา


- ประเภทของเกมการศึกษา
1.เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์ 
2.เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
4.เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
5.เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ 
6.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ 
7.เกมพื้นฐานการบวก เป็นต้น


- เทคนิคและวิธีการสอน
1.เพลง
2.นิทาน
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.สื่อ
6.ปริศนาคำทาย
7.การพาเด็กออกนอกสถานที่เพื่อให้ไปสัมผัสประสบการณ์จริง เช่นการไปจ่ายตลาด ให้เด็กได้ใช้เงิน นับเงิน เองเป็นต้น

- การจัดลำดับในการสอนตามแผนประสบการณ์
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป


- การประเมิน
การสังเกตและสนทนานั้นจะเก็บข้อมูลโดยการบันทึกของครูประจำชั้น
  -การสังเกต พฤติกรรมของเด็ก
  -การสนทนา
  -ชิ้นงานหรือผลงานของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กมีแฟ้มสะสมผลงาน portfolio ของเด็ก


- กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
1.นับจำนวนเงินที่จ่ายในการไปตลาดกับผู้ปกครอง
2.การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
3.การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
4.การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
5.ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร



- วิธีการสอน
   อาจารย์และนักศึกษาช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบไม่เจาะจง
- นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง
  กลุ่มในสาระที่ 5
  กลุ่มในสาระที่ 6
-อภิปรายเนื้อหาและถาม-ตอบ



ท้กษะที่ได้รับ 

- ได้ใช้ความคิดในการหาคำตอบ
- ได้ฝึกทักษปฎิภาณไหวพริบในการตอบคำถามเป็นรายบุคลล
- ได้รู้ถึงวิธีการสอดแทรกการสอนไปกับกิจวัตรประจำวัน เช่นการตื่นนอน การกินอาหารให้ตรงเวลา



การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำความรู้ที่ได้รับทั้งหมด การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน เช่น การใช้นิทานในการสอน คำคล้องจองต่างๆ และการนำมาใช้ที่บ้าน เช่นให้ลองนับจำนวนคนในครอบครัว และให้เด็กหยิบจับจานตามจำนวนของคนในครอบครัว เป็นต้น  เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน  



บรรยากาศในห้องเรียน
     - แสงจากจอโปรเจ็คเตอร์สว่างพอดี
     - เสียงสว่างในห้องเพียงพอ
     - โต๊ะเรียงกันเป็นรูปครึ่งวงกลม
     - อากาศเย็นน่าเรียน 


ประเมินตนเอง
      - ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ เช่นิ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ภายในบ้าน ในส่วนของผู้ปกครอง
      -ตั้งใจเรียน และจดบ้างบางครั้ง เพราะเจ็บข้อมือเลยไม่ได้จดหมด 
 

ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความตั้งใจในการหาคำตอบเป็นอย่างดี แม้จะตอบไม่ตรง แต่พออาจารย์พูดชี้แนว ก็สามารถตอบได้ตรงประเด็น 



ประเมินอาจารย์    
      - อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก และให้นักศึกษาตอบคำถามรายบุคคล เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น