บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2558
การนำเสนอการจัดประสบการณ์แบบโครงการ Project Approach มี 5 ลักษณะ
1. การอภิปรายกลุ่ม
2. นำเสนอประสบการณ์เดิม
3.การทำงานภาคสนาม
4. สืบค้นข้อมูล
5. การจัดการแสดง
การเรียนรู้แบบ “Project Approach” คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่น รับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2.การศึกษานอกสถานที่ สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ มีการอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ
4.การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น แก่เพื่อนในชั้น ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
จุดมุ่งหมายของการสอนแบบโครงการ
1.พัฒนากระบวนการเรียนรู้
2.พัฒนาความคิดและให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติได้
3.สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4.เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง
ลักษณะโครงสร้างของโครงการ
โครงการมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
-สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก และร่วมกันกำหนดหัวข้อโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
-กำหนดปัญหาที่จะศึกษา ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบ/ตรวจสอบ สมมุติฐาน
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ
-รวบรวมความรู้เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการ
กระบวนการของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
1. การอภิปรายกลุ่ม
2. การทำงานภาคสนาม
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
4. การสืบค้น
5. การจัดแสดง
กระบวนการดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ
สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ
- เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็ก
- ประเด็นที่ศึกษาเกิดจากข้อสงสัย/ปัญหาของเด็ก
- เด็กศึกษาจนพบคำตอบที่ต้องการ
- เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษา
- ระยะเวลาเพียงพอตามความสนใจของเด็ก
- กิจกรรมหลักในการสอนแบบโครงการ เช่น สำรวจ ประดิษฐ์ เล่นบทบาทสมมติ
- โอกาสในการเรียนรู้(เรียนรู้ทักษะ)
นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ ประมาณ 5-10 นาที
1. นางสาว เปมิกา นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยการนำผลไม้มาบอกชนิดของลักษณะ
2.นางสาว ปาริฉัตร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านนิทานลูกหมู 3 ตัว บอกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในนิทานเช่น จำนวนลูกหมู อายุของลูกหมู
3.นางสาว นิศากร นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านเกมส์ลูกเต๋า ได้รู้จักจำนวน ได้การนับ การเปรียบเทียบ
4. นางสาว กัญญาลักษณ์ นำเสนอกิจกรรมส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านกิจกรรมรถไฟหรรษา ได้นับจำนวน
ทักษะที่ได้
-ได้รู้จักการสรุปสาระสำคัญแบบองค์รวม สรุปแบบเห็นภาพ ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น
-การสอนแบบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนและกิจกรรมต่างๆ
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีการสอบถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ความพร้อมในการสอนและสอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา และมีการเกริ่นนำเนื้อหาก็จะเข้าบทเรียน ทำให้เราจับประเด็นได้ว่าวันนี้อาจารย์จะสอยเกี่ยวกับเรื่องใด
-ได้ฝึกการจดบันทึกและย่อใจความสำคัญ
-การกล้าแสดงออกในการนำเสนองานหน้าห้อง หรือเวลาพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-การกล้าแสดงออกในการนำเสนองานหน้าห้อง หรือเวลาพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
การประยุกย์ใช้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและเกิดจินตนาและยังเชื่อมโยงความรู้ไปสู่วิชาอื่นได้อีกด้วย
บรรยากาศในห้อง
-เพื่อนนักศึกษามีการเรียนกันอย่างสนุกสนาน และสนใจการเรียนดีในระดับนึง มีคุยกันบ้างเล็กน้อย เพื่อถามถึงข้อที่สงสัยและไม่เข้าใจ และอาจารย์ก็อธิบายให้ฟัง เพื่อนๆนักศึกษาให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีค่ะ
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเรียนรู้สิ่งที่เด็กสนใจและอยากเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและเกิดจินตนาและยังเชื่อมโยงความรู้ไปสู่วิชาอื่นได้อีกด้วย
บรรยากาศในห้อง
-เพื่อนนักศึกษามีการเรียนกันอย่างสนุกสนาน และสนใจการเรียนดีในระดับนึง มีคุยกันบ้างเล็กน้อย เพื่อถามถึงข้อที่สงสัยและไม่เข้าใจ และอาจารย์ก็อธิบายให้ฟัง เพื่อนๆนักศึกษาให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ ร่วมกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีการสอบถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
-อาจารย์ความพร้อมในการสอนและสอนได้เข้าใจตรงกับเนื้อหา และมีการเกริ่นนำเนื้อหาก็จะเข้าบทเรียน ทำให้เราจับประเด็นได้ว่าวันนี้อาจารย์จะสอยเกี่ยวกับเรื่องใด
------------------------------------------------------------------------------------------------
เพลง เท่ากัน--ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี สี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)
เพลง จับปู
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนับฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบ ฉันที่หัวแม่มือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น