Blinking Pink Hello Kitty

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15 วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ


วันพุธที่ 1เมษายน  พ..2558

มีการเรียนการสอนชดเชย
ติดกิจกรรมสานสัมพันธ์กีฬาคณะศึกษาศาตร์


สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ได้ที่ 1 ค่ะ รางวัลเชียร์หลีดเดอร์และแสตนเชียร์





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ..2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

นักศึกษาและอาจารย์ร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม 
- ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
      - เรื่องเกี่ยวตัวเด็ก
      - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลรวมรอบข้าง พ่อ แม่ และตัวเด็ก
      - ธรรมชาติรอบตัวเด็ก สภาพอากาศ กลางวัน กลางคืน เวลา เป็นต้น
      - สิ่งต่างๆรอบของตัวเด็ก
- การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
1.ภาษา         = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา
2.สุขศึกษา     = ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
3.สังคมศึกษา  ช่วยพัฒนาเด็กด้านสังคม การเล่นกับเพื่อน การรู้จักปรับตัว
4.พลศึกษา     ช่วยพัฒนาเด็กด้านร่างกาย การเจริญเติบโต
5.ศิลปะ         ช่วยพัฒนาเด็กด้านความคิดสร้างสรรค์ สมองซีกขวา 
6.วิทยาศาสตร์  = ช่วยพัฒนาเด็กด้านสติปัญญา การคิดอย่างมีเหตุผล คิดเชิงตรรกะ


- พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์
3.ด้านสังคม
4.สติปัญญา


- การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
3.กิจกรรมเสรี 
4.กิจกรรมกลางแจ้ง 
5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
6.เกมการศึกษา


- ประเภทของเกมการศึกษา
1.เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์ 
2.เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
4.เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา 
5.เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ 
6.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ 
7.เกมพื้นฐานการบวก เป็นต้น


- เทคนิคและวิธีการสอน
1.เพลง
2.นิทาน
3.เกม
4.คำคล้องจอง
5.สื่อ
6.ปริศนาคำทาย
7.การพาเด็กออกนอกสถานที่เพื่อให้ไปสัมผัสประสบการณ์จริง เช่นการไปจ่ายตลาด ให้เด็กได้ใช้เงิน นับเงิน เองเป็นต้น

- การจัดลำดับในการสอนตามแผนประสบการณ์
1.ขั้นนำ
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุป


- การประเมิน
การสังเกตและสนทนานั้นจะเก็บข้อมูลโดยการบันทึกของครูประจำชั้น
  -การสังเกต พฤติกรรมของเด็ก
  -การสนทนา
  -ชิ้นงานหรือผลงานของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กมีแฟ้มสะสมผลงาน portfolio ของเด็ก


- กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
1.นับจำนวนเงินที่จ่ายในการไปตลาดกับผู้ปกครอง
2.การทำอาหาร เช่น ปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ความสั้น-ยาว ของผัก
3.การนับสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน
4.การนั่งรถไปเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ อ่านป้ายทะเบียนรถ
5.ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะอาหาร



- วิธีการสอน
   อาจารย์และนักศึกษาช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบไม่เจาะจง
- นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง
  กลุ่มในสาระที่ 5
  กลุ่มในสาระที่ 6
-อภิปรายเนื้อหาและถาม-ตอบ



ท้กษะที่ได้รับ 

- ได้ใช้ความคิดในการหาคำตอบ
- ได้ฝึกทักษปฎิภาณไหวพริบในการตอบคำถามเป็นรายบุคลล
- ได้รู้ถึงวิธีการสอดแทรกการสอนไปกับกิจวัตรประจำวัน เช่นการตื่นนอน การกินอาหารให้ตรงเวลา



การนำไปประยุกต์ใช้    
   -   นำความรู้ที่ได้รับทั้งหมด การเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัย และใช้เทคนิคต่างๆที่เป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างรอบด้าน เช่น การใช้นิทานในการสอน คำคล้องจองต่างๆ และการนำมาใช้ที่บ้าน เช่นให้ลองนับจำนวนคนในครอบครัว และให้เด็กหยิบจับจานตามจำนวนของคนในครอบครัว เป็นต้น  เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน  



บรรยากาศในห้องเรียน
     - แสงจากจอโปรเจ็คเตอร์สว่างพอดี
     - เสียงสว่างในห้องเพียงพอ
     - โต๊ะเรียงกันเป็นรูปครึ่งวงกลม
     - อากาศเย็นน่าเรียน 


ประเมินตนเอง
      - ตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ เช่นิ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ภายในบ้าน ในส่วนของผู้ปกครอง
      -ตั้งใจเรียน และจดบ้างบางครั้ง เพราะเจ็บข้อมือเลยไม่ได้จดหมด 
 

ประเมินเพื่อน              
      - เพื่อนมีความตั้งใจในการหาคำตอบเป็นอย่างดี แม้จะตอบไม่ตรง แต่พออาจารย์พูดชี้แนว ก็สามารถตอบได้ตรงประเด็น 



ประเมินอาจารย์    
      - อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน เข้าใจเป็นอย่างมาก และให้นักศึกษาตอบคำถามรายบุคคล เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน 





ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

เนื้อหาการเรียน (ความรู้ที่ได้รับ)

อาจารย์ให้ทำแบบประเมิน โดยให้เวลา 3 ชั่วโมง โดยให้ส่งทันในกำหนด

1.พัฒนาการหมายถึงอะไร?
2.การเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?
3.หากครูไม่ศึกษาพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของเด็กการจัดประสบการณ์จะเป็นอย่างไร?
4.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะอย่างไร?
5.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างจากวิชาคณิตศาสตร์ในระบบการเรียนการสอนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างไร?
6.การนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรือการคิดคำนวณมาจัดประสบการณ์ให้เด็กมีแนวคิดอย่างไร?
7.สาระคณิตศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์แต่ละสาระ
8.ผู้สอนบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านรูปแบบการสอนใดได้บ้าง?
9.ให้ท่านยกตัวอย่างขั้นตอนรูปแบบการสอนบูรณาการคณิตศาสตร์?
10.ในการทดลองการจัดประสบการณ์ทำไมการวางโต๊ะและกระดานเขียนต้องมีความสัมพันธ์กับการนั่งของครู
11.ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง
12.ในการทดลองการจัดประสบการณ์มีเทคนิควิธีที่ท่านพึงระวังและควรนำมาใช้มีอะไรบ้าง
13.จากการศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยท่านได้ความรู้และทักษะใดบ้าง
คุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับจากรายวิชานี้คืออะไร ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนอะไร พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีโอกาสใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาบ้างหรือไหม พร้อมยกตัวอย่าง ท่านมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้หรือไม่ ถ้ามีให้ท่านยกตัวอย่าง

และให้นักศึกษาสรุปประเด็นความรู้ 
วิธีการสอน
-ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้ โดยตอบจากความเข้าใจของนักศึกษา ห้ามลอกกัน !!

ทักษะที่ได้
-ได้รู้ทักษะการตอบคำถามทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน รูปแบบการตอบคำถาม ตอบไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำรูปแบบการจัดโต๊ะ การจัดห้องเรียน ไปจัดห้องเรียนได้ใยอนาคต (มีในแยยทดสอบ)

บรรยากาศในการเรียน
-เย็นสบาย เงียบสงบ มีสมาธิในการตอบคำถามดี

ประเมินผล
-ตนเอง มีสมาธิดีขึ้น สามารถทำแบบทดสอบได้ ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากสมุดจนมาตอบ
-เพื่อน ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานตามเวลา
-อาจารย์ผู้สอน ใช้คำถามที่ตรงประเด็น นักศึกษาสามารถตอบได้ แต่อาจจะไม่ตรงตามเฉลยเป๊ะ แต่ก็ใกล้เคียง


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12 วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 

ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน (ความรู้ที่ได้รับ)
- วันนี้นักศึกษาได้ฝึกสอนตามที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ 
*กลึ่มของข้าพเจ้าได้เรื่อง สตรอวเบอร์รี่ ซึ่งไม่ได้ให้เพื่อนถ่ายภาพไว้ให้ ขณะ กำลังฝึกสอน จึงไม่มีภาพประกอบ 

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ เรื่องสตรอวเบอร์รี่
ขั้นนำ
-ร้องเพลงสตรอวเบอร์รี่ และถามความรู้เดิมของเด็กเกี่ยวกับสตรอวเบอร์รี่ และมีภาพประกอบ
-ถามเด็กว่า จากเพลงมีสตรอวเบอร์รี่สายพันธุ์อะไรบ้าง และเขียน mind map ตามที่เด็กบอก
-ถามเด็กว่ารู้จักสตรอวเบอร์รี่สายพันธุ์ใดบ้างนอกจากในเพลง และเขียน mind map ตามที่เด็กบอก

ขั้นสอน
-นำสตรอวเบอร์รี่ออกมา และให้เด็กดู และรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง พันธุ์พระราชทาน 70,80
-นำสตรอวเบอร์รี่มาติดบนกระดาน และให้เด็กๆนับจำนวนไปพร้อมกัน (20 ผล)
-ให้เด็กออกมาแยกสตรอวเบอร์รี่ พันธุ์ 70และ 80ออกจากกัน 
-หากพันธุ์70หมดก่อน แสดงว่ามีน้อยกว่าพันธุ์80 และพันธุ์ 80 มีมากกว่าพันธุ์ 70

ขั้นสรุป
-เด็กแยกพันธุ์สตรอวเบอร์รี่ได้ถูกต้อง
-ร้องเพลง สตรอวเบอร์รี่อีกรอบ

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำรูปแแบบการจัดห้องเรียน ไปใช้ได้ในอนาคต ขวามือของเด็ก=ซ้ายมือของครู ดังนั้นคุณครูต้องแยกประสาทการควบคุมให้ดี เวลาจะยกมือ หรือสั่งให้เด็กทำอะไร

วิธีการสอน
-อาจารย์ให้นักศึกษาหัดสอนในแผนที่ตนเองเขียนมา

ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะการจัดห้องเรียน 
-ทักษะการเขียนกระดาน
-ทักษะการสอน

ประเมินผล
-ตนเอง  กล้าแสดงออก กล้าที่จะพูด กล้าที่จะสอน
-เพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ เสมือนตนเองเป็นเด็กจริงๆเลย
-อาจารย์ผู้สอน อาจารย์มีการแนะนำหลังการสอน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงข้อบกพร่องของตนเอง จะได้แก้ไขในครั้งต่อไป

--------------------------------------------------------------------------------------
 สตรอวเบอร์รี่
สตรอวเบอร์รี่ สตรอวเบอร์รี่ มีหลายสายพันธุ์
พระราชทาน 70 , 80 ก็มี ดูให้ดีๆมีหลายสายพันธุ์

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11 วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน 

ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)
- การออกแบบกิจกรรม
ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
  1. ศึกษาสาระที่ควรรู้
  2. วิเคราะห์เนื้อหา
  3. ศึกษาประสบการณ์
  4. บูรณาการ
  5. ออกแบบการจัดกิจกรรม

สิ่งที่ควรเรียนรู้
-สิ่งต่างๆรอบตั
-บุคคลและสถานที่
-เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็กเอง ชื่อ วัน/เดืิอน/ปีเกิด ชื่อพ่อ ชื่อแม่ เป็นต้น
-ธรรมชาติ กลางวัน กลางคืน สภาพอากาศเป๋็นต้น

หลักในการเลือกเนื้อหา
-เลือกจากสิ่งหรือเรื่องใกล้ตัวของเด็ก เช่น สภาพอากาศ สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เป็นต้น

ประสบการณ์สำคัญ
-ประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่า่งกาย



-ประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ

ข้อคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
1.เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการเพราะเด็กแต่ละช่วงอายุมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
2.ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่มีจะทำให้มีการปรับความรู้ใหม่ เป็นการเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
3.เหมาะสมกับคสามต้องการและความสามารถของเด็ก

 กระบวนการของกิจกรรมต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ เพราะ ให้เด็กได้ลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสอดคล้องกับการทำงานของสมอง ให้เด็กได้ลงมือกระทำอย่างมีความสุข 
แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping

แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม 
ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การดูแลรักษา 4.ข้อควรระวัง 5.ประโยชน์
เขียนแผนการสอนตามเรื่อง สรอวเบอร์รี่




ทักษะได้รับ
-ได้ฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์
-การคิดอย่างมีระบบ การคิดก่อนหลัง และเชื่อมโยงความคิด ให้ออกมาเป็นความคิดของตนเอง
-การระดมความคิด
-การช่วยกันตอบคำถาม
-ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
-ทักษะในการคิดวิเคราะห์ เป็นขั้นตอน และคิดเป็นระบบ
-ทักษะกระบวนการในการทำงานเป็นกลุ่ม


การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำควาามรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก ไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับการกิจกรรม เพื่อให้พัฒนาการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ประเมินผล
 ตนเอง
-วันนี้ร่างกายไม่ค่อยพร้อม เนื่องจากไม่สบาย แต่ก็พยายามตั้งใจเรียนจนถึงที่สุด มีถามเพื่อนข้างๆบ้าง 
เพื่อน
-เพื่อนนักศึกษา ตั้งใจฟังอาจารย์ พออาจารย์ให้สรุปความรู้ เพื่อนๆก็รีบสรุปเป็นคำพูดของตนเอง ลงสมุดบันทึก และมีการตอบคำถามอาจารย์ด้วย
อาจ่รย์ผู้สอน
-อาจารย์ได้แนะแนวทางเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยเชื่อมโยงความรู้จากเรื่องเดิมที่เคยเรียนมาตอน ปี1 คือเรื่องพัฒนาการของเด็ก ฝึกให้นักศึกษาเชื่อมโยงความคิด

อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ให้คำแนะนำนักศึกษาเวลานักศึกษาทำงานผิดพลาด ก็จะแนะแนวทางให้ใหม่

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10 วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น
1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม
3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เช่นบ้าน
4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสามเหลี่ยม
5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรงสี่เหลี่ยม
6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูป รูปทรง

-นำเสนองานรูปแบบการสอน

  • กลุ่มที่ 1 รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
วิธีการจัดการเรียนการสอน
เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
การเตรียม = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์


  • กลุ่มที่ 2 รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2. กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3. กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5. กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


  • กลุ่มที่ 3 รูปแบบการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน BBL
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง

  • กลุ่มที่ 4 รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำเนื้อหาการเรียนการสอนความรู้ เรื่องรูปแบบการสอนในแบบต่างๆไปใช้ในการฝึกสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้และได้รับพัฒนาการที่ดีและจะให้พัฒนาเป็นไปตามขั้นตอน

บรรยากาศในห้องเรียน

-มีแสงสว่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบเหมือนทุกครั้งที่ไปเรียน นั่งเรียนสบาย ไม่แออัด

ประเมินตนเอง

-ตั้งใจเรียน อาจจะไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ก็พยายามศึกษาหาความรู้จากที่อาจารย์สอนภายในห้องเรียน กล้าที่จะยกมือถามอาจารย์เวลาที่ไม่เข้าใจเนื้อหา

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนนักศึกษาตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงเพราะ คำพูดของอาจารย์จะสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสั่งสอนนักศึกษาไปในตัว และอาจารย์ก็ยังปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบงานตนเองที่ได้รับมองหมายในแต่ละสัปดาห์  ถ้าไม่ได้เอามาในอาทิตย์นั้นๆ คือ ไม่ต้องออกไปนำเสนอ  เป็นการทำให้นักศึกษาเกิดความกระตืนรือร้นเพิ่มขึ้นค่ะ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9 วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหาการเรียน


- นำเสนอบทความ
เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

- นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ


** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้
 สาระที่ 1 : จำนวนและการกำเนินการ
 สาระที่ 2 : การวัด
 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
 สาระที่ 4 : พีชคณิต
 สาระที่ 5 : วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์



วิธีการสอน
- ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
- ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการพูดนำเสนองาน
- ทักษะในการตอบคำถาม
-ทักษะในการฟัง



การนำไปประยุกต์ใช้
-การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย เราสามารถนำนิทาน คำคล้องจองต่างๆมาสอนเด็กได้ และก็ยังได้หัดแต่งนิทานอีกด้วย ซึ่งกลุ่มดิฉันได้เรื่องการวัด ดิฉันแต่งนิทานเอง รู้สึกภูมิใจมากค่ะ


บรรยากาศในห้องเรียน

โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่งกายเรียบร้อย ม

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และก็แบ่งงานกันได้อย่างลงตัว ไม่วุ่นวายหรือเสียงดัง


ประเมินอาจารย์
-อาจาร์ยมีเทคนิคการสอนที่ดี พูดให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ การใช้น้ำเสียงหนักเบา เพื่อดึงดูดให้นักศึกษาสนใจ