Blinking Pink Hello Kitty

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4 วันุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558  เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาการเรียน
ตอนต้นคาบมีการทดสอบความเข้าใจหรือความรู้ที่เคยเรียนผ่านมา ทดสอบเกี่ยวกับเรื่อง
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ 
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 
-ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดีบปฐมวัย 
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย 

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเดกปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพืนฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์ (จำนวน , รูปทรง , วัน , เวลา , อายุ , พ.ศ.เกิด เป็นต้น )
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการบวก (ทำให้เพิ่มขึ้น) การลบ (ทำใหลดลง)
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 
    


1. ทักษะการสังเกต (observation)

การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมันในการเรียนรู้ สัมผัสทั้ง 5 ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้ 

- การได้เห็น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่
-การได้ยิน เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
-การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ
-การได้ลิ้มรส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ
-การได้สัมผัสกายสัมผัส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร

การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.การจำแนกประเภท (Classifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของ  โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น เช่น ความเหมือน ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ 

3.การเปรียบเทียบ (Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของและวัตถุตั้งแต่2ชิ้นขึ้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งของเฉพาะสิ่งนั้นๆ และต้องรู้จักใช้คำศีพท์ทางคณิตศาสตร์

4.การจัดลำดับ (Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง การจัดลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ว่าเหตุใดเกินขึ้นก่อนหรือหลัง

5.การวัด (Measurement)
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยไก้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

วิธีการสอน
-อาจารย์มีการเกริ่นนำเนื้อหาก่อนสอนโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เป็นการทวนความรู้เดิมของนักศึกษา โดยให้ตอบตามความเข้าใจของนักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้ และได้รู้สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็ก รู้พัฒนาการและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
-โต๊ะเรียนจัดอย่างเป็นระเบียบ นั่งสบาย ไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ เสียงอาจารย์ดังฟังชัด  POWER POINT น่าสนใจ มีแต่เนื้อหาสำคัญ

ประเมินผล
-ตนเอง = เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และมีการเปิดอินเตอร์เน็ตเผื่อศึกษาหัวข้อที่อาจารย์สอน เพื่อให้เข้าใจเชื่อมโยงกับสิ่งที่อาจารย์สอน ทำให้การเรียนลื่นไหลมากขึ้น
-เพื่อน = เพื่อนตั้งใจเรียน ไม่คุยกัน มีปรึกษากันบ้าง แต่ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
-อาจารย์ผู้สอน = มีการเตรียมความพร้อมที่จะมาสอนนักศึกษาในทุกๆครั้ง อาจารย์อธิบาย และใช้คำถามเชิญชวนให้นักศึกษาตอบและมีส่วนร่วมในการเรียน  เข้า่ตรงเวลา เช็คชื่อตรงเวลา เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้แก่นักศึกษาด้วย

----------------------------------+++++++++++++++++++++++---------------------------------
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
ไม่มีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลัน ลา หลั่นลา หลั่นล้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น