Blinking Pink Hello Kitty

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4 วันุธ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558  เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาการเรียน
ตอนต้นคาบมีการทดสอบความเข้าใจหรือความรู้ที่เคยเรียนผ่านมา ทดสอบเกี่ยวกับเรื่อง
-ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ 
-จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 
-ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดีบปฐมวัย 
-หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย 

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเดกปฐมวัย
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจพืนฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการรู้จักคำศัพท์ (จำนวน , รูปทรง , วัน , เวลา , อายุ , พ.ศ.เกิด เป็นต้น )
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่นการบวก (ทำให้เพิ่มขึ้น) การลบ (ทำใหลดลง)
-เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 
    


1. ทักษะการสังเกต (observation)

การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมันในการเรียนรู้ สัมผัสทั้ง 5 ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัสด้วยกาย เพื่อให้มีความไว และความละเอียด แล้วนำมาใช้ในการแสดงได้เป็นอย่างดี ดังนี้ 

- การได้เห็น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ตา ซึ่งผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางตา เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงานโดยผู้แสดงจะต้องสังเกต และมองสิ่งรอบ ๆ ตัว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดปัญหาในขณะกำลังแสดงอยู่
-การได้ยิน เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง หู ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการฟัง เพราะอาจต้องใช้ในการแสดงบางประเทที่มีการบอกบทในขณะแสดง ระบบการได้ยินจึงต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการแสดงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
-การได้กลิ่น เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง จมูก ผู้แสดงจะต้องมีความไวต่อการได้กลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไรแสดงสีหน้าท่าทางอย่างไรเมื่อได้กลิ่นนั้น ๆ
-การได้ลิ้มรส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง ลิ้น ผู้แสดงจะต้องพัฒนาการรับรู้ทางการชิมรส ต้องรับรู้รสต่าง ๆ ได้แม่นยำและสามารถแสดงสีหน้าท่าทางเมื่อได้รับรู้รสนั้น ๆ
-การได้สัมผัสกายสัมผัส เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทาง มือ หรือ ผิวหนังส่วนอื่น ผู้แสดงจะต้องมีความรู้สึกไวต่อสิ่งของที่ได้สัมผัสแต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น ผิวหยาบ ผิวนุ่ม ผิวแข็ง และเมื่อได้สัมผัสสิ่งนั้น ๆ มีท่าทางความรู้สึกอย่างไร

การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่เสมอ จะทำให้ผู้แสดงมีความรู้และการรับรู้ฉับไวในการแสดงแต่ละอย่าง และสามารถสร้างสรรค์งานละครได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.การจำแนกประเภท (Classifying)
การแบ่งประเภทสิ่งของ  โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งชิ้น เช่น ความเหมือน ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ 

3.การเปรียบเทียบ (Comparing)
เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของและวัตถุตั้งแต่2ชิ้นขึ้นไป เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งของเฉพาะสิ่งนั้นๆ และต้องรู้จักใช้คำศีพท์ทางคณิตศาสตร์

4.การจัดลำดับ (Ordering)
เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง การจัดลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ว่าเหตุใดเกินขึ้นก่อนหรือหลัง

5.การวัด (Measurement)
การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยไก้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

วิธีการสอน
-อาจารย์มีการเกริ่นนำเนื้อหาก่อนสอนโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เป็นการทวนความรู้เดิมของนักศึกษา โดยให้ตอบตามความเข้าใจของนักศึกษา

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้ และได้รู้สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็ก รู้พัฒนาการและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
-โต๊ะเรียนจัดอย่างเป็นระเบียบ นั่งสบาย ไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ เสียงอาจารย์ดังฟังชัด  POWER POINT น่าสนใจ มีแต่เนื้อหาสำคัญ

ประเมินผล
-ตนเอง = เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอน และมีการเปิดอินเตอร์เน็ตเผื่อศึกษาหัวข้อที่อาจารย์สอน เพื่อให้เข้าใจเชื่อมโยงกับสิ่งที่อาจารย์สอน ทำให้การเรียนลื่นไหลมากขึ้น
-เพื่อน = เพื่อนตั้งใจเรียน ไม่คุยกัน มีปรึกษากันบ้าง แต่ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
-อาจารย์ผู้สอน = มีการเตรียมความพร้อมที่จะมาสอนนักศึกษาในทุกๆครั้ง อาจารย์อธิบาย และใช้คำถามเชิญชวนให้นักศึกษาตอบและมีส่วนร่วมในการเรียน  เข้า่ตรงเวลา เช็คชื่อตรงเวลา เป็นการฝึกระเบียบวินัยให้แก่นักศึกษาด้วย

----------------------------------+++++++++++++++++++++++---------------------------------
เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
ไม่มีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลัน ลา หลั่นลา หลั่นล้า

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 วันุธ ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558  เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




เนื้อหาการเรียน

ตอนต้นคาบมีการทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับ

- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร

- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร

- การเรียนรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

ความหมายพัฒนาการและประโยชน์-พัฒนาการเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน
ระโยชน์ของพัฒนาการ-เพื่อให้รู้ถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละบุคคล
-เพื่อให้รู้ถึงความสามารถของเด็กเพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับให้เหมาะสมกับพฒนาการของเด็ก
สิ่งที่มีผลต่อพัฒนาการ-พันธุกรรม
-การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง
-สภาพแวดล้อม


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
- ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์


1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปีแบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
4.ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่



- ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์
เด็กจะสร้างภาพขึ้นมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
-ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
-ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
-ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อตสกี้
ความสามารถของเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีจะต้องมีความช่วยเหลือจากครูและผู้ปกครองและเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม  บางเรื่องเด็กต้องอาศัยการช่วยเหลือจากพ่อแม่ ทักษะทางสังคมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ลงมือทำกระด้วยตนเองแบบอิสระและเลือกได้ ไม่กำหนดขอบเขตให้เด็กควรให้เด็กลงมือทำและคิดเอง
ประโยชน์ของการเรียนรู้
-เพื่อให้เราอยู่รอดในสังคมเป็นทักษะของการใช้ชีวิต
-เพื่อจะได้จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้




วิธีการสอน- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อทดสอบความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทบทวนความรู้เดิม
- มีการใช้เทคโนโลยีในการสอน สื่อเป็นpower point



การนำไปประยุกต์ใช้
-นำความรู้ที่ได้รับมาเพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้และพัฒนาการตามช่วงอายุและตามความสามารถของเด็กแต่ละคน



ประเมินตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน และสามารถสรุปเป็นคำพูดในความเข้าใจของตนเองได้ เพราะอาจารย์แนะแนวทางให้


ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความพร้อมในการเรียนดี แลดูเข้าใจตอบคำถามอาจารย์ได้ดี มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนตลอดคาบ



ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี 



สรุปบบทความ

สรุปปบทความ 
ทำอย่างไรจะสอนลูกจำเกียวกับเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่า
คลิกดูบทความตรงนี้


"คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่คิดเลข ไม่ใช่แค่การแก้โจทย์ แต่คณิตศาสตร์คือระบบ และกระบวนการทางความคิดทั้งหมดที่ส่วนใหญ่มักตีความผิดกัน คิดว่า ถ้าเด็กทำโจทย์คณิตศาสตร์ได้ คือ เด็กเก่งเลข ซึ่งมันไม่ถูกต้อง พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างกระบวนการทางความคิดให้ลูกด้วยจินตนาการโดยให้เห็นมากกว่าคิด โดยการใช้ภาพ หรือการ์ตูนเข้ามาช่วย เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของเด็ก จากนั้นพยายามลบทัศคติในแง่ลบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ออกไป แล้วใช้กิจกรรมพื้นฐาน 4 อย่างที่กล่าวมานี้เล่นกับเด็กหรือลูกทุกวัน วันละนิดวันละหน่อย เชื่อว่าคณิตศาสตร์จะเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว"

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย
การพัฒนาความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
เรื่อง : การพัฒนาความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาพัฒนาความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ชันอนุบาล 1 หลังการจัดประสบการณ์โดยการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
2.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความพร้อม ทางด้านคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาล1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา

  ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทียบผลการทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีการวัดผลก่อนและหลังเรียนโดยนำผลการทดสอบมาหาค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมดและส่วนเบี่ยงเบนของมาตรตราฐาน และเลือกเนื้อหาที่อยู่ใกล้ตัวของนักเรียน เป็นเรื่องที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของนักเรียน และเมื่อนักเรียนได้รับการจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์แล้วนักเรียนสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมกับการเรียนรู้ในขั้นต่อไป

สรุปผลการวิจัย
 จากการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็ก จะทำให้เด็กเปิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้สติปัญญาที่ตนเองถนัดและเตรียมความพร้อมให้เด็กในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นไป

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำประจำวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินประจำประจำวันที่ 14  มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2


เนื้อหาที่เรียนความหมายทางคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการคำนวน เป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพต่างเช่น วิศวะกร สถาปนิกเป็นต้น ทุกวิชาชีพล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในอาชีพ ในเด็กปฐมวัยจะไม่เรียนรู้เฉพาะตัวเลข เเต่เรียนรู้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากการสังเกต เช่น เล็ก-ใหญ่ , หนัก-เบา , สั้น-ยาว เป็นต้น


ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์นับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัยแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ดีต่อไปในอนาคต มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงและความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน เพราะช่วยพัฒนาความคิดของเด็กให้เป็นคนคิดอย่างมีเหตุผลมีระเบียบมีความละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ รวมทั้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์วิศวกรรม การแพทย์ และอื่นๆ ต้องอาศัยคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ทั้งสิ้นนอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กทั้งหลายอย่างเช่น การซื้อขาย การใช้เวลาเล่น การเดินทาง และอื่นๆ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกระบวนความคิดเเละกระบวนการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆตั้งเเต่การรุ้ค่าจำนวนการจัดหมวดหมุ่การจำเเนกเปรียบเทียบซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะพัฒนาได้จากการจัดกิจกรรมจากครูผู้สอนเเต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเเละพัฒนาการของเด็กด้วยเพื่อเด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตรืได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์ทำให้เราได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น การจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวัน การคำนวณราคาสินค้าให้เพียงพอกับจำนวนเงินที่เรามี  สำหรับเด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับการจำเเนกออกเป็นหมวดหมู่ เพราะสิ่งเหล่านี้สำคัญกับเด็กในการยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กมากเช่นการจัดร้อยลูกปัด นับจำนวนของลูกปัด เป็นต้น คณิตศาสตร์เป็นอีกเรื่องที่ผู้ปกครองเเละคุณครูให้ความสนใจภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลกเเละสรรพสิ่งรอบตัวเช่นปริมาณ เหมวดหมู่ และ การนับเป็นต้น
ทักษะที่ได้รับได้ทัั้งทักษะทางสังคมจากการจับกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า คณิตศาสตร์ ได้นำแนวคิดของแต่ละคนมาสรุปเป็นแนวคิดหลักที่คิดว่าน่าจะดีที่้สุด  และทักษะทางคณิตศาสตร์ ทำให้รู้เเละเข้าใจความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของคณิตศาสตร์ มากขึ้น

วิธีการสอนวันนี้ในห้องเรียนเครื่องโปรเทคเตอเสียไม่สามารถใช้โปรเเกรมpowerpiontในการสอนได้ คุณครูผู้สอนจึงเปลี่ยนวิธีการสอน โดยใช้วิธีการที่ให้นักศึกษาเเบ่งกลุ่มเเละสรุปความหมายของวิชาคณิตศาสตร์โดยให้แต่ละคนในกลุ่มสรุปหัวข้อที่ตนเองได้และนำของแต่ละคนนั้นมาดูว่าอันไหนดีที่สุด และนำมาเขียนลงในกระดาษของส่วนกลาง เเละให้ตัวเเทนเเต่ละกลุ่มออกอธิบายเกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ ทักษะทางคณิตศาสตร์เเละประโยชน์ทางคณิตศาสตร์
การประยุกต์ใช้สามารถนำความรูทางวิชาคณิตศาสตร์ที่เราได้ทราบถึงความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ทักษะทางคณิตศาสตร์ มาประยุกต์ใช้กับตนเองเเละเป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่จะนำไปปรับใช้สอนเด็กปฐมวัยถึงวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีอีกด้วย จะได้จัดวิธีการสอนให้เข้ากับเด็ก เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้หมด ควรเรียนรู้แบบค่อยๆเป็น ค่อยๆไป เริ่มจากการนับ เลข ง่ายๆ 0-9 เป็นต้น
ประเมินผู้สอนคุณครูเเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาชัดเจน มีเสียงดังบ้างในบางที เเต่อธิบายงานไม่เข้าใจในช่วงเเรก พอช่วงหลังอธิบายได้เข้าใจได้ชัดเจนเมื่อนักศึกษาถามคำถามอีกครั้ง
บรรยากาศภายในห้องเรียนอากาศเย็น ห้องเรียนสะอาด นักศึกษามาเรียนครบทุกคน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการระดมความคิดเห็นในการสรุปงาน

 สรุป ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า ช้าพเจ้าคิดว่า วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญกับทุกช่วงวัยของมนุษย์ ถ้ามีการปลูกฝังให้เด็กได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่เล็กคงจะเป็นผลดีกับตัวเด็ก จะทำให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และเป็นแบบแผน 
ปล. เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนในคาบแรก คือวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558 จึงกราบขออภัยอาจารย์ผู้สอนมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ